Powered By Blogger

5/9/54

คำนิยามของนักเศรษฐศาสตร์

Platoเพลโต
กฎที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์อีกชิ้นหนึ่งของเพลโตคือ กฎที่เกี่ยวกับแสงที่ว่าแสงเดินทางเป็น เส้นตรง เมื่อแสงมากระทบวัตถุมุมแสงตกกระทบจะเท่ากับมุมแสงสะท้อน เป็นกฎที่ถูกต้องและยึดถือกันมาจนถึงปัจจุบันAristotleอริสโตเติล
 คำสอนที่น่าสนใจของอริสโตเติลได้แก่ ความเชื่อที่ว่าโลกเรานี้ประกอบด้วยธาตุต่างๆ 4 ธาตุ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ ทฤษฏีของอริสโตเติล ทางด้านชีววิทยานั้นเป็นที่ยกย่องกันมาก เพราะเขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ต่างๆ เช่น ปลา และพวกสัตว์เลื้อยคลานและได้ทำการบันทึกไว้อย่างละเอียดมาก เขาได้แบ่งสัตว์ออกเป็น 2 พวกใหญ่ คือ พวกมีกระดูกสันหลัง (Vertebrates) และพวกไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) นับว่าอริสโตเติลเป็นผู้บุกเบิกความรู้ทางด้านนี้จนได้รับการยกย่องว่าเป็นนักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก
Adam Smith อดัม สมิธ
ตามความคิดของอดัม สมิธพฤติกรรมของมนุษย์ถูกกำหนดโดยสิ่งกระตุ้น 6 ประการ คือ
1.            ความรักตนเอง
2.            ความเห็นอกเห็นใจ
3.            ความต้องการเป็นอิสระ
4.            ความรู้สึกเป็นเจ้าของ
5.             ความขยันขันแข็งในการทำงาน
6.            ความโน้มเอียงที่จะติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
 นั่นคือเกิดการผสมกลมกลืนระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ของสังคม ที่เป็นเช่นนี้เพราะกฎของธรรมชาติที่อดัมสมิธเรียกว่ามือที่มองไม่เห็นเป็นสิ่งกระตุ้นให้พฤติกรรมทั้ง 6 ประการของมนุษย์ ก่อให้เกิดความสมดุลจนไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งใดๆ  ตัวอย่างเช่น ถึงแม้ว่านายดีมีความรักตนเอง ซึ่งอาจจะให้ทำอะไรเพื่อผลประโยชน์ของตนจนไปสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น แต่ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันจะเป็นแรงกระตุ้นทำให้ต้องนึกถึงผลประโยชน์คนอื่นควบคู่ไปด้วย
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
       ได้พิมพ์หนังสือ ตลาดเงินตรา “Money Market” ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งในหลายๆ เรื่องของวิชเศรษฐศาสตร์
จอห์น ลอค (Johnlock Locke)
เขียนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีทางการเมือง ให้จำกัดพระราชอำนาจของกษัตริย์ทั้งนี้รัฐบาลต้องตั้งขึ้นโดยความยินยอมของประชาชนและต้องรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนยกย่องในสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมกันของมนุษย์ โดยใช้เหตุผลในการตัดสินแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งแนวคิดของจอห์น ลอค นับว่าเป็นรากฐานความคิดในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่
Mr.Peter Drucker  
 นักเศรษฐศสตร์ระดับโลกทางธุรกิจ ได้กล่างไว้ว่า ธุรกิจที่ดี ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้ง 5 อย่าง
1. ษัทต้องมีความมั่นคง แช็งแรง ฐานะทางการเงินต้องมั่นคง
2. สินค้าต้องมีคุณภาพที่ยอดเยี่ยม บริษัทต้องมีโรงงาน และLAB เป็นของตนเอง
3. แผนรายได้ต้องยุติธรรม และมีรายได้ที่คุ้มค่า
4. ช่วงเวลาต้องอยู่ในช่วงที่เริ่มต้นไม่นาน และอยู่ในช่วงกำลัง เจริญเติบโตสินค้าต้องมีแนวโน้มที่เป็นที่ต้องการของตลาดในอนาคตและปัจจุบัน
5. ต้องมีทีมที่มีความเป็นมืออาชีพ สามารถช่วยให้ประสบความสำเณ็จได้จริง
เอิร์นสท์ เฟรดริด ชูมาเกอร์ ( Enst Friedrich Schumacher)
แนวคิดของชูมาเกอร์ เน้นความสำคัญของการพึ่งพาตนเองส่งเสริมและชี้ให้เห็นถึงอานิสงค์ของการทำงานร่วมกับธรรมชาติ
เซอร์ วิลเลี่ยม เพตตี้ Sir William Petty
 ความสำคัญและสนใจเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลรายได้ประชาชาติและมีการจัดทำเป็นบัญชีรายได้ประชาชาติ เพื่อใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ เป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกที่คำนวณรายได้ประชาชาติของประเทศอังกฤษ
คาร์ล มาร์กซ์
นักปรัชญานักเศรษฐศาสตร์การเมือง และนักปฏิวัติชาวเยอรมัน มีความคิดแบบถอนรากถอนโคน มาร์กซ์เชื่อว่าชนชั้นแรงงานจะต้องรวมตัวกันเพื่อโค่นล้มนายทุนและลัทธิทุนนิยมเพื่อนำมาซึ่งสังคมที่ยุติธรรมและปราศจากชนชั้น
พระยาสุริยานุวัตร หรือ เกิด บุนนาค
ท่านได้ชื่อว่าเป็นนักคิดและนักปฏิบัติหัวก้าวหน้าที่สุดในยุคนั้น มีความเฉียบขาดและตรงไปตรงมา การเสนอแนวคิดจัดการโอนการจำหน่ายฝิ่นจากนายอากรมาให้รัฐบาลทั้งหมด ทำให้เกิดผลดีต่อการเพิ่มรายได้ให้รัฐอย่างมหาศาล ทำให้นายอากรและผู้เสียประโยชน์ไม่พอใจอย่างมาก ในที่สุด พระยาสุริยานุวัตรได้กราบบังคมทูลลาออกจากราชการ เพื่อระงับเหตุอันอาจจะบานปลายต่อไป"
จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ( John Maynard Keynes)
เสนอแนวคิดเศรษฐศาสตร์ ซึ่งพลิกวงการเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก(คือ เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค ในสมัยนั้น) ก็คือ การสนับสนุนให้ใช้นโยบายของรัฐ (อาทิ นโยบายการคลัง) อันจะกระตุ้นให้เกิด อุปสงค์ที่มีประสิทธิผล (effective demand) แทนที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกลไกตลาด ซึ่งอาจเกิดความล้มเหลวได้
ประโยคสำคัญซึ่งท้าทายเศรษฐศาสตร์แบบเดิม คือประโยค "In the long run, we are all dead" (ในระยะยาว พวกเราก็ตายกันหมดแล้ว) ซึ่งสะท้อนเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการปรับตัวในระยะยาว    านักเศรษฐศาสตร์ต่างยกให้เคนส์เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งหลักของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)
อัลเฟรด มาร์แชลล์  Alfred Marshall
อังกฤษได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาค แนวคิดทางด้านทฤษฏีราคาถือว่าประสบความสำเร็จ นอกจากนั้น อัลเฟรด มาร์แชลล์ ยังเป็นผู้วางรากฐานทางทฤษฏีที่ใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคและหน่วยผลิต เช่น ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ส่วนเกินผู้บริโภคและส่วนเกินผู้ผลิต ความแตกต่างระหว่างระยะสั้นกับระยะยาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น